Shopping ใน 15 วินาทีกับสถิติ Tiktok Shop
Shopping ใน 15 วินาทีกับสถิติ Tiktok Shop
Shopping ง่ายๆ กับ Tiktok ใน 15 วินาทีเป็นเหตุผลให้คนตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น? และ TikTok Shop ที่กำลังเติบโตไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แพลตฟอร์มนี้จะเป็นมากกว่าแค่ให้ความบันเทิงหรือไม่? จะโดดเด่นในตลาด E-Commerce แค่ไหน? MyCloud มีสถิติ และ case study ของร้านค้าที่น่าจับตามองบน Tiktok มาฝากกันค่ะ
หลังจากที่ MyCloud เคยแนะนำให้ทุกคนรู้จักกับฟังก์ชันใหม่ "Tiktok Shop" นี้มาแล้ว วันนี้เรามีธุรกิจ E-Commerce ที่โดดเด่นบน Tiktok ที่นำมาเสนอ นั่นคือร้าน เสื้อผ้าแมว และสัตว์เลี้ยงจากอินโดนีเซียเพื่อนบ้านของไทยเราค่ะ คุณ “Fredi” เจ้าของแมวที่เป็นกระแสบนโลกออนไลน์ตั้งแต่ปี 2020 ด้วยคลิปการเดินท่าทางน่ารักในชุดคอสตูมที่น่ารัก คลิปดังกล่าวมีผู้ชมหลายสิบล้านคนบน TikTok ซึ่งโดยปกติแล้วเขาใช้แพลตฟอร์ม Marketplace อย่าง Shopee เพื่อขายเสื้อผ้าสัตว์เลี้ยงแฮนด์เมด และเริ่มเข้าร่วม Tiktok ที่มาแรงสุด ๆ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน
จุดประสงค์หลัก ๆ ไม่ใช่เพื่อขายของ แต่เพื่อโชว์ความน่ารักของ แมวเหมียวในชุดต่าง ๆ ที่เขาทำขึ้นมา เมื่อ Engagement ดีมากขึ้นเรื่อย ๆ เขาเห็นว่านี่คงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับช่างฝีมือในการเริ่มช่องทางการขายใหม่ ๆ
สำหรับปี 2021 ที่ผ่านมา Tiktok เป็นแอปที่มีคนดาวน์โหลดมากที่สุด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย TikTok Shop เริ่มใช้งานครั้งแรกที่ ในอินโดนีเซีย และในสหราชอาณาจักร จากนั้นเมื่อประสบความสำเร็จมากขึ้นแล้ว จึงขยายฟังก์ชันนี้ไปทั่วในประเทศไทยของเรา เวียดนาม และมาเลเซีย ตามลำดับค่ะ
แม้ว่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมียักษ์ใหญ่ด้าน E-Commerce ที่เรียกได้ว่าเป็นแพลตฟอร์มเจ้าตลาด อย่าง Lazada และ Shopee แล้วก็ตาม อ้างอิงจากรายงานล่าสุดของ Google ตลาด E-Commerce ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีศักยภาพสูงและน่าจับตามองที่สุด โดยมีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์ ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่จะดึงดูดแพลตฟอร์ม E-Commerce ให้เข้ามาทำการตลาด หรือจับตามองชาวอาเซียนเป็นหลักแบบนี้ ByteDance เองจึงได้วางตำแหน่ง TikTok Shop ให้เป็นวิวัฒนาการใหม่ในการช็อปปิ้งออนไลน์
โดยมีหลักการดึงดูดความสนใจของผู้ใช้งานให้ “ เสพติด” การเล่นแอปมากขึ้นด้วยอัลกอริทึมของ TikTok ที่นำเสนอเฉพาะเรื่องที่คนเหล่านั้นสนใจ และเมื่อความบันเทิงดังกล่าวทำได้โดยแค่การเลื่อนวิดีโอสั้น ๆ
แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อที่จะกลายเป็นแหล่งช็อปปิ้งที่นิยม TikTok Shop ยังโน้มน้าวให้เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กสร้างสรรค์วิดีโอสั้นเพื่อขายสินค้า และชักชวนผู้ใช้แอปให้มองว่าแอปเป็นมากกว่าความบันเทิงเท่านั้น
เพราะปัญหาที่ Tiktok Shop และผู้ขายอย่างคุณ Fredi เจอก็คือ เขายังคงใช้ TikTok เป็นแพลตฟอร์มความบันเทิงเป็นหลักเท่านั้น และเพื่อน คนรอบตัวของเขาเองก็ยังไม่ค่อยรู้ว่า Tiktok สามารถซื้อของได้ จึงมองว่าเป็นเรื่องใหม่ และเป็นเรื่องที่ยาก มากกว่าการที่จะกดซื้อบน Marketplace อย่าง Lazada และ Shopee สังเกตได้จากคลิปดัง ๆ ของเขาเอง ยังมีคนคอมเมนท์ว่าให้แปะลิงก์ Shopee อยู่ ทั้ง ๆ ที่ซื้อผ่าน Tiktok โดยไม่ต้องออกจากแอปเลยก็ได้
ดังนั้นจนถึงปัจจุบันนี้จะยังไม่เป็นที่นิยมทั้งในส่วนของผู้ขาย และผู้ซื้อเองก็ดีเมื่อเทียบกับโอกาสที่ควรจะเป็นไปได้ สถิติจาก TikTok Seller ที่ใช้ในการจัดการร้านค้าบน TikTok มีผู้ใช้เพียงราว ๆ 18,000 ครั้งเท่านั้นเองในอินโดนีเซีย ซึ่งเทียบไม่ได้กับผู้ขายที่เคลื่อนไหวบน lazada หรือ shopee เลย นั่นจึงเป็นเหตุผลที่คู่แข่งระดับโลกของ TikTok จริง ๆ แล้วคือวิดีโอสั้นของ Instagram อย่าง Reels ค่ะ
อย่างไรก็ตามบน TikTok Shop ในตอนนี้ยังคิดค่าธรรมเนียมเพียง 1% เป็นค่าคอมมิชชั่นสำหรับคำสั่งซื้อขายให้กับผู้ซื้อที่อยู่ในอินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม และมาเลเซียอยู่ซึ่งถือว่าน้อยมาก ๆ และ ผู้ขายยังสามารถเข้าถึง "มหาวิทยาลัยผู้ขาย" เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการขายในวิดีโอสั้น ๆ และวิธีจัดการโลจิสติกส์ต่าง ๆ อีกด้วย
นอกจากความท้าทายเรื่องการเปลี่ยนมุมมองของผู้ขายและผู้ซื้อที่มีต่อ Tiktok ว่าเป็นมากกว่าแค่แพลตฟอร์มเพื่อความบันเทิง และยังมีโอกาสเติบโตในตลาด E-Commecre อย่างมากแล้ว อีกหนึ่งความท้ายทายของเจ้าของธุรกิจต่าง ๆ คือยังต้องมีทักษะในการจัดทำโฆษณาสินค้าให้ออกมาเป็นวิดีโอสั้น ๆ ซึ่งเป็นทักษะที่แตกต่างอย่างมากจากตลาดออนไลน์แบบเดิม ที่ทำกันมาตลอด
เพราะการเปลี่ยนจากการตลาดแบบเดิมมาเป็นการตลาดดิจิทัลในปัจจุบันยังเป็นจุดลำบากสำหรับเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ เพราะเจ้าของธุรกิจหรือแบรนด์เองต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวสำหรับพฤติกรรม ความคาดหวัง และความต้องการของผู้บริโภคที่ไม่แน่นอนอยู่เสมอ
ถึงอย่างไรการขยายช่องทางการขายไปยังช่องทางใหม่ ๆ รวมถึง Tiktok เอง ก็ยังมีความเสี่ยงที่ผู้ขายต้องทำความรู้จักแพลตฟอร์ม เรียนรู้ให้มากขึ้น เพื่อวางแผนการทำการตลาด หรือการขายให้เหมาะสมกับแต่ละช่องทาง รวมไปถึงการจัดการงานหลังบ้านการขายออนไลน์ ทั้งเก็บ แพ็ค ส่ง ที่เป็นอีกหนึ่งงานหนักที่ผู้ขายต้องรับมือ เมื่อออเดอร์เพิ่มมากขึ้น
เชื่อมต่อทุกช่องทางการขายกับ MyCloud
ไม่ว่าจะขยายช่องทางการขายมากแค่ไหน การเก็บสต็อกบนช่องทางเดียวก็ยังเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยลดงาน และความยุ่งยากในการตรวจนับจำนวนสินค้า หรือการดูแลสินค้า และการเลือกแพ็คส่งออกให้ลูกค้าได้มากที่สุดอยู่ดี
บริการเก็บ แพ็ค ส่ง ที่ออกแบบได้จาก MyCloud ช่วยให้คุณขายสินค้า ออนไลน์และออฟไลน์แบบไร้รอยต่อ ด้วยการเชื่อมต่อทุกช่องทางเข้าด้วยกันเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร้านค้าไม่ต้องวุ่นวายจัดการสต๊อก รวมถึงการจัดการแรงงานคนให้เพียงพอในแต่ละช่องทาง แล้วเอาเวลาไปโฟกัสกับการขาย หรือต่อยอดธุรกิจได้อย่างเต็มที่ บริการ fulfillment ที่มาพร้อมกับ ระบบจัดการออเดอร์ (OMS) และ ระบบจัดการคลังสินค้า (WMS) ของ MyCloudFulfillment ทำให้สามารถรับออเดอร์จากทุกช่องทาง และดำเนินการแพ็ค ส่งได้อย่างไม่ตกหล่นแม้แต่ออเดอร์เดียวค่ะ
ขอขอบคุณภาพจาก laprensalatina.com และ freepik.com