Technology & Trends ที่น่าลงทุนสำหรับธุรกิจ Logistic
Technology & Trends ที่น่าลงทุนสำหรับธุรกิจ Logistics
เนื่องจากความต้องการของผู้โภคด้าน E-Commerce ไม่ว่าจะเป็น การบริการของพนักงาน ความรวดเร็วในการส่งสินค้า และอนิสงค์จากการเติบโตขึ้นอย่างมากของธุรกิจ E-Commerce ทำให้การเเข่งขันของธุรกิจ Logistics เข้มข้นมาก ผู้ให้บริการ ขนส่งเเละ Logistics เร่งพัฒนาตนเอง และปรับตัวอยู่เสมอ เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด ในปัจจุบัน ผู้ประกอบการหลายรายต่างเริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขนส่ง ขณะเดียวกัน มีการนำข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภคมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริการอีกด้วย ดังนั้นวันนี้เราจะมาดูเทรนด์ และเทคโนโลยีที่น่าจับมองสำหรับธุรกิจ Logistics ที่มีผู้ประกอบการเริ่มลงทุนและอาจเกิดขึ้นจริงในอนาคตกันค่ะ
1. Autonomous Vehicles
Technology แรกในวงการ Logistic ที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ “รถไร้คนขับ” ที่อาจฟังดูแปลก ๆ ไม่น่าเป็นไปได้ แต่รับรองว่ามีเกิดขึ้นจริงแน่นอนในอนาคตอันใกล้นี้ค่ะ รถยนต้ไร้คนขับถูกพัฒนาขึ้นเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนพนักงานในพื้นที่ไกล ๆ อีกทั้งยังสามารถลดต้นทุนค่าขนส่งสินค้าให้กับผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพนักงาน ค่าใช้จ่ายจากอุบัติเหตุ หรือแม้กระทั่งค่าน้ำมันอีกด้วยค่ะ แต่เจ้า Autonomous Vehicles หรือ AV นี้ไม่ใช่เพียงแค่รถเท่านั้นนะคะแต่ยังรวมถึงยานพาหนะไร้คนขับต่าง ๆ เช่น โดรน เป็นต้น จึงไม่แปลกเลยที่ปัจจุบันปี 2020 ในต่างประเทศเริ่มมีการใช้งาน โดรนในการส่งพัสดุขนาดเล็ก หรือแม้กระทั่งอาหาร ซึ่งถ้ามีเกิดขึ้นมาใช้อย่างแพร่หลายจริง ๆ ก็ถือเป็นการปฏิวัติวงการโลจิสติกส์ครั้งใหญ่เลยล่ะค่ะอย่างไรก็ตามแม้ว่าเจ้ารถส่งของไร้คนขับ ยังถือว่าเป็นนวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ในอนาคต แต่ก็มีหลาย ๆ บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง FedEx และ UPS หรือแม้แต่เจ้าใหญ่ด้าน E-Commerce อย่าง Amazon ที่กำลังจับตา และลงทุนพัฒนาเพื่อให้ใช้ได้จริง ทางด้าน JD.com E-Commerce ยักษ์ใหญ่ของจีนก็ไม่น้อยหน้าค่ะ เริ่มมีการทดลองใช้รถส่งของไร้คนขับส่งของตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 60 ที่ผ่านมา ดังนั้นไม่แน่ว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเราอาจได้เห็นรถยนต์ไร้คนขับวิ่งส่งของอยู่ในประเทศไทยก็ได้นะคะ
2. Augmented Intelligence (AI)
แน่นอนค่ะว่า เทรนด์ AI (Artificial Intelligence) หรือที่เรียกกันว่า ปัญญาประดิษฐ์ นั้นมาแรงมาก ๆ ในธุรกิจทุกประเภทโดยเฉพาะ E-Commerce และ Logistics ดังนั้น AI ก็ไม่ใช่สิ่งใหม่ในธุรกิจคลังสินค้า เพราะสามารถเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก และแทนที่การทำงานของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า อีกทั้งยังลดข้อผิดผลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่อย่างไรก็ตาม บางสายงานในธุรกิจก็จำเป็นต้องใช้ Skill เฉพาะตัวของมนุษย์ ดังนั้นจึงมีเทรนด์ที่อาจจะไม่ค่อยคุ้นหู แต่มีประโยชน์และใช้งานได้จริงอย่าง “Augmented Intelligence หรือ (ปัญญาเสริม)” เกิดขึ้นมาอีกด้วยค่ะ เรียกได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่สามารถ รวมเอาจุดดีของผู้ใช้งานและระบบเข้าด้วยกัน เป็นการเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้มากขึ้น เพราะระบบโดยปกติแล้วจะทำงานซ้ำ ๆ ตามข้อมูลที่ถูกป้อน และมนุษย์มีขีดจำกัดในการทำงาน ทั้ง ร่างกาย ความสามารถในการจำต่าง ๆ แต่เจ้า Augmented Intelligence นี้เป็นระบบที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลป้อนกลับ (Feedback-driven) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-learning) และการรับประกันตัวเอง (Self-assuring) จึงสามารถคาดการณ์ข้อมูล จัดลำดับ เรียนรู้ และแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง โดยปัจจุบันมีธุรกิจโลจิสติกส์ที่นำ AI ดังกล่าวเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการวางแผนโลจิสติกส์และซัพพลายเชน รวมถึงการทำ marketing และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกอีกด้วยค่ะ
3. การเติบโตของ eCommerceเนื่องจากการขายแบบ Omni-Channel
ธุรกิจ E-Commerce ได้รับความนิยมและโตขึ้นอย่างกว้างขวางในโลกธุรกิจแบบ B2C มานานแล้ว แต่ในปัจจุบันเมื่อธุรกิจ E-Commerce โตขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์เริ่มมองหาผู้ให้บริการ B2B เพิ่มเติมเต็มการขายสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีช่องทางการขายที่เรียกว่า Omni Channel ที่รวมเอาการขายหลายช่องทางแบบ Offline และ Online ไว้ด้วยกันเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด โดยการเข้าถึงลูกค้าจากทุกช่องทาง ทำให้ธุรกิจออนไลน์ต้องรับมือด้าน Logistics และ Fulfillment เพิ่มขึ้น ซึ่งการขายหลายช่องทางหรือ Omni Channel นี้ถือเป็นช่องทางการขายที่ขับเคลื่อนธุรกิจหลาย ๆ ธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ logistic หรือธุรกิจ Fulfillment อีกทั้งการเติมเต็มความต้องการของลูกค้าไม่ใช่แค่การบริการของผู้ขายเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่รวมถึงการจัดส่งที่รวดเร็ว สินค้าไม่ชำรุดเสียหาย หรือความถูกต้องของสินค้าและการแพ็คสินค้าที่สวยงามอีกด้วย นอกจากนี้การขายหลายช่องทางทำให้เกิดการขนส่งไปยังช่องทางต่าง ๆ จึงเกิดเป็น Omni Channel Logistics ที่เป็นการรวบรวมการส่งหลายรูปแบบเพื่อขนส่งไปยังจุดหมายได้อย่างเหมาะสมที่สุดนั่นเองค่ะ
4. Blockchain และ Internet of things (IoT)
คุ้นชื่อกันเป็นอย่างดีค่ะสำหรับ Blockchain ที่ก่อนหน้านี้เข้าไปมีบทบาทเกี่ยวกับการเงินดิจิตอลอย่างมาก และจะเข้ามามีบทบาทกับวงการโลจิสติกส์ต่อไป ซึ่ง Blockchain คือ เครือข่ายการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลชุดเดียวกัน และอัพเดตอยู่เสมอ ข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถปลอมแปลงได้จึงมีความปลอดภัยสูง ในวงการ Logistics อาจใช้เพื่อเก็บข้อมูล การจัดส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลผู้ส่ง ผู้รับ หรือตัวสินค้าด้วย และ IoT หรือ Internet of Things ก็คือ เทคโนโลยีที่เป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ทำให้ธุรกิจสามารถเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและปลอดภัย ดังนั้นการทำงานร่วมกันของ Blockchain และ IoT จึงเป็นเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามาเสริมแกร่งให้กับวงการโลจิสติกส์ในด้านของการเพิ่มศักยภาพในการขนส่ง และยังสามารถช่วยลดต้นทุนการขนส่ง เช่นการเก็บข้อมูลการเดินรถเพื่อนำไปวิเคราะห์เส้นทาง หรือลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็นในการส่งสินค้าได้ อย่างไรก็ตามแม้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ในอนาคตหากมีการนำมาใช้ในธุรกิจโลจิสติกส์แบบจริงจัง ก็ถือว่าเป็นการพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์ครั้งใหญ่เลยค่ะ
ภ่าพจาก: freepik.com
5. Data & Analytics
เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว การนำข้อมูลไปวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ก็เป็นขั้นตอนสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยใช่ไหมล่ะคะ ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม ที่ใช้ในการจัดลำดับความสำคัญ และวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สถิติ ความเสี่ยง รวมถึงจัดการข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียวกันอยู่มากมาย แต่ผู้ให้บริการ Logistics ต้องเลือก Platform ให้เหมาะสมเพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลเพราะข้อมูลเชิงลึกที่วิเคราะห์ได้ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอีกด้วยค่ะ
เมื่อรู้เทรนด์และเทคโนโลยีที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจ Logistics แบบนี้เเล้วการเลือกลงทุนเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับองค์กรของตนเองก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังต้องคำนึงถึงทรัพยากรบุคคลที่ตนมีอยู่อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากรคน หรือข้อมูลต่าง ๆ ว่ามีเพียงพอเเละพร้อมที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหรือไม่ เพราะการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กรขึ้นอยู่กับผู้ใช้โดยตรง การมีพนักงานที่สามารถเข้าใจการใช้เครื่องมือเหล่านี้ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามค่ะ