MyCloud พาไปดูใครเป็นเจ้าแห่ง E-Commerce ในยุคนี้!!
ใครกันนะ ที่เป็นเจ้าแห่ง E-Commerce ในยุคนี้!!
วงการ E-Commerce เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ ค่ะ ถ้าจะให้พูดถึงผู้นำด้านธุรกิจ E-Commerce เจ้าใหญ่ ๆ ทุกคนนึกถึงใครกันบ้างคะ แน่นอนค่ะว่าเชื่อแรก ๆ ที่คิดออกก็คงจะเป็น Amazon Alibaba eBay หรือไม่ที่คนไทยเราใช้บริการบ่อย ๆ ก็เป็น Lazada Shopee ใช่ไหมล่ะคะ วันนี้ MyCloud จะพาไปหาคำตอบว่าใครกันแน่ที่เป็นเจ้าแห่ง E-Commerce ในยุคนี้ พร้อมทั้งวิเคราะห์แนวคิด หรือวิธีการดำเนินธุรกิจของ E-Commerce เจ้าใหญ่ ๆ ทั้งหลายเพื่อเป็นไอเดีย หรือแนวทางในการดำเนินธุรกิจต่อไปค่ะ
มาเริ่มกันที่ Alibaba ด้วยความที่เป็น platform ออนไลน์สำหรับ B2B (Business to Business) มาก่อนดังนั้นจึงรวบรวมธุรกิจหรือโรงงานในจีนที่พร้อมจะผลิตสินค้าส่งออก หรือขายบนออนไลน์เอาไว้ทั้งหมด ทำให้มีผู้ขาย และผู้ซื้อที่นำไปขายส่งหรือประกอบธุรกิจต่อเป็นจำนวนมาก Business Model ที่น่าจับตามองของ Alibaba คือ มี Online Marketplace หรือเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่หลากหลายและมุ่งเน้นไปยังกลุ่มเป้าหมาย (ผู้ขาย)ที่แตกต่างกัน แต่ Alibaba ไม่ได้รับผิดชอบในเรื่องของคลังสินค้าหรือบริการต่าง ๆ แต่เป็นเพียงแค่ Platform ที่จะทำให้ผู้ขายเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้นเท่านั้นค่ะ แนวคิดของ Alibaba สนใจเรื่อง Ecosystem มากค่ะ คือเขาต้องการให้ผู้ซื้อสามารถค้นหาสินค้า พูดคุยซื้อขายกับผู้ขาย รวมถึง ชำระเงินและขนส่งสินค้าได้ครบจบใน Platform เดียว เพื่อให้ผู้ซื้อสะดวกสบายที่สุดนั่นเองค่ะ แนวคิดในการดำเนินธุรกิจที่น่าสนใจของ Jack Ma คือ การให้ความสำคัญกับคนในองค์กรค่ะ เห็นได้จาก Alibaba ที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่เกื้อหนุนพนักงาน เพราะมีแนวคิดที่ว่า “กำไร” ไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของการดำเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่บุคคลากรในองค์กรก็เป็นตัวแปรสำคัญมากด้วยค่ะที่จะทำให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมาย ซึ่งจุดนี้น่าสนใจมากค่ะ
ในขณะที่ Amazon เริ่มต้นด้วยแนวคิดที่อยากจะตัดข้อจำกัดของการขายออฟไลน์ มีการดำเนินธุรกิจเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง และยังมุ่งมั่นพัฒนาบริการที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่คิดว่าจะเป็นเทรนด์หรือนิยมในอนาคต ทำให้มีหลาย ๆ ธุรกิจหรือบริการในเครือ Amazon เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย โดยแนวคิดในการดำเนินธุรกิจของ Jeff Bezos เจ้าของ Amazon คือ “การมองเห็นแนวทางไปต่อ” อยู่เสมอค่ะ ดูได้จาก หาก Amazon กำลังสนใจหรือศึกษาเรื่องใดอยู่ รับรองว่าเราได้เห็นสิ่งใหม่ ๆ นั้นที่เขาจะพัฒนาออกมาแน่นอน โดยแนวคิดนี้น่าสนใจมากตรงที่ ในตอนแรกที่เริ่มทำแม้ว่าเราจะไม่มีทักษะหรือความรู้มากพอระดับเชี่ยวชาญ แต่เราต้องมีความอดทน อดกบั้นและเรียนรู้สิ่งนั้น ๆ อย่างจริงจัง เพราะบางครั้งการทำธุรกิจ หรืองานต่าง ๆ ให้ประสบความสำเร็จก้ไม่ได้อาศัยแค่ความสามารถค่ะ แต่ต้องใช้เวลาด้วย อย่าลืมนะคะ “ Good things take time”
จากข้อมูลที่เรารวบรวมมาทั้งหมดก็พอจะอธิบายความยิ่งใหญ่ และเหตุผลที่ทำให้ธุรกิจเหล่านี้ประสบความสำเร็จระดับโลกได้ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะตัดสินได้ว่าใครยิ่งใหญ่ที่สุดค่ะ เพราะมีเกณฑ์การตัดสินมากมาย อาทิเช่น มูลค่าทางการตลาด รายได้และกำไรในปีต่าง ๆ ที่ไม่มีใครน้อยหน้าไปกว่าใครเลยค่ะ แต่อย่างไรก็ตามความโดดเด่นที่ทำให้ทั้งสอง Platform หลักนี้ต่างกันโดยสิ้นเชิงก็คือ Alibaba จะสามารถแชร์หรือเชื่อมต่อกับข้อมุล ที่มีความสำคัญมากในปัจจุบัน กับแบรนด์หรือผู้ใช้เพื่อนำไปต่อยอดต่อไปได้ ใขณะที่ Amazon ไม่ให้ข้อมูลตรงนี้ค่ะ
สำหรับเจ้าแห่ง E-Commerce ในไทย อาจไม่ใช่ 2 ยักษ์ใหญ่ข้างต้นค่ะ เพราะคนไทยคุ้นชินกับการเลือกซื้อสินค้าจาก Shopee และ Lazada มากกว่าใช่ไหมล่ะคะเรามาดูจุดแข็งของในแต่ละ Platform กันดีกว่าค่ะ
LAZADA จุดแข็งที่สุดของ Platform นี้คือมีจำนวนผู้ใช้มาก ทำให้ผู้ใช้งานเชื่อถือ และใช้งานเพราะต้องการให้สินค้ามีผู้พบเห้นมากขึ้น โดยถือว่า LAZADA เป็นอาวุธที่สำคัญของ Alibaba ที่จะใช้สู้ในสงคราม E-Commerce ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในไทยเลยก็ว่าได้ค่ะ ดังนั้นแนวทางการดำเนินธุรกิจจะคล้าย ๆ กันค่ะนั่นก็คือ การพยายามทำให้การซื้อขาย ไร้รอยต่อมุ่งเน้นเพื่อสร้างประสบการณ์การซื้อขายที่ดีที่สุดให้แก่ผู้ซื้อ และผู้ขาย แต่อย่างไรก็ตามหากได้ขายใน Lazada ก็คงจะทราบกันดีค่ะว่า มีการเรียกเก็บรายได้จากผู้วางขาย ตามประเภทของสินค้า ทำให้ไม่แปลกเลยค่ะที่จะเห็นสินค้าชนิดเดียวกัน แต่มีราคาสูงกว่าอีก platform เพราะผู้ขายอาจบวกต้นทุนที่ต้องเสียให้กับ Lazada เข้าไปค่ะ
ในส่วนของ Shopee ซึ่งก็เห็นโอกาสในการเติบโตของ E-Commerce อย่างมากเช่นกันจึงพยายาม ทำให้ Platform ของตนเองโดนเด่นและแตกต่างอยู่เสมอ ยิ่งไปกว่านั้น Shopee เล็งเห็นความสำคัญของจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ จึงพัฒนาให้ Shopee เป้น Mobile Friendly มากที่สุดเพื่อตอบสนองลักษณะการใช้งานของผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีการใช้พรีเซนเตอร์ที่มีชื่อเสียงมาก มาโปรโมทให้เข้าถึงผู้ใช้ หรือสร้างภาพจำต่าง ๆ ได้มากขึ้นอีกด้วยค่ะ เนื่องจากการให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานเป็นหลัก ทำให้ Shopee พยายามสร้าง Customer Journey ให้ครบจบในแอพเดียว โดยเพิ่มให้ การชำระเงิน หรือแม้แต่ติดตามสถานะสินค้าเข้าไปเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคมากที่สุดนั่นเองค่ะ
นอกจากนี้มีอีกหลาย ๆ เว็บไซต์ E-Commerce ที่มาแรง และน่าจับตามองในปีที่ผ่านมานี้ ที่เฉพาะเจาะจงแต่ละประเภทสินค้าก็มีค่ะ แต่อย่างไรก็ตามเจ้าตลาด E-Commerce ในไทยก็คงเป็น สองแพลตฟอร์มนี้
สำหรับผู้ที่สนใจใน Platform อีคอมเมิร์ซต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ทำความเข้าใจทุก platform การขาย ช่องทางไหนเวิร์คสุด? เพราะนอกจากเจ้าดัง ๆ ที่กล่าวมาแล้วยังมีอีกหลาย Platform ที่เริ่มมีการลงทุนในวงการ E-Commerce รวมไปถึง Platform น้องใหม่อย่าง TikTok ด้วยค่ะ และสุดท้ายนี้หวังว่าแนวคิดในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ รวมไปถึงจุดเด่น จุดด้อยของบริษัททที่ประสบความสำเร็จระดับโลกไม่ว่าจะเป็น Amazon, Alibaba, Lazada หรือ Shopee จะเป็นแนวทาง หรือจุดประกายการดำเนินธุรกิจของทุก ๆ ธุรกิจได้ต่อไปนะคะ แล้วในครั้งหน้าจะมีประเด็นไหนที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์กับธุรกิจออนไลน์อีก เราจะนำมาฝากกันใหม่นะคะ เพราะ MyCloudFulfillment สนับสนุนการทำธุรกิจให้เติบดตอย่างยั่งยืน และพร้อมเป้นพาร์ทเนอร์กับผู้ขายออนไลน์ทุกท่าน ไม่ว่าจะเป็นรายเล็ก หรือใหญ่ค่ะ