4 กลยุทธ์พลิกโฉม E-Commerce ที่ธุรกิจออนไลน์ห้ามพลาด
4 กลยุทธ์ พลิกโฉม E-Commerce ที่ธุรกิจออนไลน์ห้ามพลาด
แบรนด์ทุกแบรนด์ หรือธุรกิจต่าง ๆ มีโมเดลที่แตกต่างกัน แต่เมื่อพฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนไปทุกวัน แบรนด์ก็ต้องเต็มใจที่จะปรับตัวหรือกล้าเสี่ยงอะไรใหม่ ๆ ดังนั้นหากคุณพร้อมที่จะพลิกโฉมธุรกิจ E-Commerce ของคุณ วันนี้ MyCloud นำ 4 กลยุทธ์ที่จะช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้กับคุณ แบรนด์ของคุณ และลูกค้าของคุณมาให้อ่านกันค่ะ
1. โลกแห่ง Shoppertainment
Shoppertainment หรือ Shopping + Entertainment หรือการมอบประสบการณ์ที่มากกว่าแค่การขายให้กับลูกค้า ทั้งความรู้สึกสนุกสนานที่ได้ช็อปหรือความประทับใจที่ได้ซื้อไปแล้ว ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถตอบโจทย์ลูกค้ารุ่นใหม่ ที่มีสิทธิ์สามารถวิจารณ์สินค้าและบริการ และเป็นผู้สนับสนุนแบรนด์ จนกลายเป็นมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อแบรนด์และเป็นลูกค้าประจำได้ ดังนั้นการเน้นไปที่การมอบประสบการณ์ในการบริการไม่ว่าจะเป็น การพูดคุย ตอบคำถามลูกค้า จึงเป็นสิ่งสำคัญ รวมไปจนถึงการบริการหลังการขาย หรือการแพ็คของส่งสินค้าที่ใส่ใจ ถูกต้องและครบถ้วน ก็สามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าคนพิเศษของคุณได้ จากนั้นต้องไม่ลืมเทคนิคที่สร้างสรรค์ ความแปลกใหม่และแตกต่างมอบให้ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น การไลฟ์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ หรือการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก และมอบความสนุกและการมีส่วนร่วมให้ลูกค้ามากขึ้น
2. Conversion Rate Optimization
Conversion เสมือนเครื่องมือในการวัดผล ว่าการทำการตลาดของแบรนด์นั้นบรรลุเป้าหมายหรือไม่โดย Conversion ของแต่ละกิจกรรมก็กำหนดได้แตกต่างกันค่ะ ส่วนใหญ่จะเป็นยอดขาย หรือยอดสมัคร ซึ่งการวัดผลนี้ก็จะทำให้แบรนด์สามารถพัฒนาการตลาด หรือต่อยอดให้ดีขึ้นได้ รวมถึงถ้าประสบความสำเร็จนั้นหมายถึงยอดขาย และกำไรที่เพิ่มขึ้นด้วยนั่นเอง ดังนั้นแบรนด์จึงต้องสนใจและมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพของ Conversion Rate ของตัวเองกันค่ะ
Bernard May จาก forbes กล่าวว่า E-Commerce เปรียบเสมือนที่ที่ยางรถมาบรรจบกับท้องถนนอย่างแท้จริง แต่จะไม่มีความหมายเลยหากในตอนท้ายที่สุดแบรนด์ไม่สามารถนำความสนใจของลูกค้า การเข้าชมไซต์ หรือจำนวนคลิกโฆษณาต่าง ๆ แปลงความสนใจเหล่านี้เป็นลูกค้าที่ชำระเงินได้ ดังนั้นแบรนด์จึงควร Conversion Rate ให้มากยิ่งขึ้นตามที่กล่าวมาข้างต้นค่ะ
ทั้งนี้ May แนะนำการแก้ไขเรท Conversion ที่ต่ำ หรือการที่ไม่สามารถเปลี่ยนให้ลูกค้าที่สนใจมาเป็นลูกค้าที่ชำระเงินได้ไว้ 3 ข้อหลัก ๆ ดังนี้ค่ะ
1. การมีส่วนร่วมของผู้เข้าชม
ยี่งผู้เข้าชมเว็บไซต์ หรือสินค้าของคุณอยู่ในหน้าสินค้า หรือบนเพจนานเท่าไหร่ นั่นหมายถึงโอกาสที่คุณจะเปลี่ยนจากแค่การมีส่วนร่วมเป็นความสนใจได้ นั่นหมายถึงการบ้านของคุณคือทำอย่างไรให้การนำเสนอหน้าเหล่านั้นน่าสนใจ และดึงดูดให้ลูกค้าสนใจได้มากที่สุดนั่นเองค่ะ
2. การหยิบใส่ตะกร้าของผู้เข้าชม
อีกหนึ่งขั้นตอนของการสังเกตพฤติกรรมของลูกค้าบนเว็บไซต์หรือหน้าร้านของคุณคือ การเช็คเปอร์เซ็นต์หรือยอดการเพิ่มสินค้าลงในตระกร้า เพราะนี่เปรียบเป็นการวัดผลขั้นแรกกว่าคุณสามารถเปลี่ยนความสนใจเป็นการพิจารณาซื้อที่ชัดเจนขึ้นได้หรือไม่นั่นเองค่ะ
3. ดำเนินการชำระเงิน
สเต็ปถัดไปคือเปอร์เซ็นต์ของผู้ที่เพิ่มลงในตะกร้าสินค้านั้น ๆ เปลี่ยนเป็นการขายจริงเท่าไหร่ นั่นจะเป็นการวัดว่า คุณประสบความสำเร็จในการเปลี่ยน consideration ของลูกค้า เป็น actual revenue หรือยอดขายของคุณได้หรือไม่ค่ะ
จากที่กล่าวมาข้างต้นไม่ว่าจุดใดก็ตามที่คุณเห็นว่า Conversion ลดลง ไม่ว่าจะเป็นขั้นแรกการมีส่วนร่วมเป็นความสนใจ การพิจารณาสู่การซื้อ หรือการเปลี่ยนconsideration ของลูกค้าเป็นยอดขาย นั่นไม่ใช่ปัญหาแต่คือ โอกาสในการมองเห็นจุดที่ต้องพัฒนา และเพิ่มการเปลี่ยนแปลง รวมถึงสร้างกำไรต่อไปนั่นเองค่ะ
3. Marketplaces
แม้ว่าในปัจจุบันแบรนด์ต่าง ๆ จะมีร้านค้าบน Marketplace อยู่แล้ว แต่มีบางแบรนด์ยังเน้นการขายบนเว็บไซต์หลักของตัวเอง หรือการขายผ่านช่องทาง social media ของแบรนด์เป็นหลัก เพราะมีผู้ติดตามเยอะอยู่แล้ว
การพิจารณาช่องทางการขายใหม่ ๆ เป็นสิ่งที่แบรนด์ควรให้ความสนใจ เพราะนั่นคือการเพิ่มโอกาสในการขายให้กับคุณ สำหรับในต่างประเทศแบรนด์อาจจะพิจารณา Amazon ที่เป็นแพลตฟอร์มหลัก ๆ แต่สำหรับในไทยนั้น ปฎิเสธไม่ได้เลยว่าต้องเป็น 2 แพลตฟอร์มนี้ ได้แก่ Lazada และ Shopee นั่นเองค่ะ
เพราะทั้ง 2 แพลตฟอร์ม Lazada และ Shopee ต่างก็ผลักดันฟีเจอร์ใหม่ ๆ เข้ามาช่วยอำนวนความสะดวกให้กับผู้ขายอยู่เสมอ รวมถึงเป็นช่องทางที่ผู้คนเข้ามาเพราะมีกำลังซื้อ หรือมีความต้องการซื้ออยู่แล้ว ดังนั้นโอากาสในการขายจึงมีมากนั่นเองค่ะ
4. Social Commerce
คุณสามารถใช้ประโยชน์ หรือข้อได้เปรียบของการทำ Social Commerce เพื่อการเดินทางของลูกค้าที่ราบรื่นยิ่งขึ้นได้ค่ะ
การกระจายความหลากหลาย หรือการเพิ่มช่องทางที่ลูกค้าสามารถพบสินค้าของคุณได้ ยิ่งมากยิ่งดีค่ะ ตามที่กล่าวมาข้างต้นสำหรับ Marketplace ดังนั้นสำหรับ Social Commerce ก็เหมือนกัน
ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังใช้ช่องทางโซเชียลในการสร้าง หรือเพิ่มการรับรู้ (awareness ) บน Social mediaต่าง ๆ แล้วหลีดให้ลูกค้าออกไปที่เว็บไซต์ หรือช่องทางของคุณเอง อาจทำให้ลูกค้าหลุดร่วงไประหว่างทางค่ะ ดังนั้นจะดีกว่ามั้ยถ้าคุณตัดตัวกลางเหล้านั้นออก และให้ลูกค้าสามารถซื้อสินค้าของคุณโดยตรงจาก Facebook หรือ Instagram ของคุณได้เลย
รู้หรือไม่? ในปี 2568 ยอดขายผ่าน Social commerce ถูกคาดการณ์ว่าจะสูงถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์เพราะฉะนั้นอย่าลืมพิจารณาข้อนี้นะคะ แบรนด์ของคุณก้าวไปไกลกว่าการ “กดไลค์” ของลูกค้าอย่างแน่นอนค่ะ
ขอขอบคุณคุณเนื้อหาดี ๆ จาก forbes.com และภาพจาก freepik.com