fbpx

FULFILLMENT บริการคลังสินค้าออนไลน์ "เก็บ แพ็ค ส่ง"

ปี 2020 จะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับ e-Commerce? มีแนวโน้มอย่างไร มาดู!

ecommerce20 - cover
Education
Fulfillment
Marketing

ปี 2020 จะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับ e-Commerce? มีแนวโน้มอย่างไร มาดู!

e-Commerce Trend 2020

ปี 2020 จะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับ อีคอมเมิร์ช? มีแนวโน้มอย่างไร มาดู!

            อัตราการเติบโตของ e-Commerce ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบ B2B B2C B2G ในประเทศไทยปี2018 ที่ผ่านมา มีมากถึง 14.04% ไม่ต้องแปลกใจเลยครับว่าทำไม e-Commerce ในไทยถึงโตมากที่สุดในอาเซียน เพราะคนไทยใช้เวลาไปกับอินเตอร์เน็ตมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกและกิจกรรมที่ทำมากที่สุด 1 ใน 5 ก็คือการช็อปปิ้งออนไลน์ นั่นส่งผลธุรกิจ e-Commerce เติบโตขึ้นจากเมื่อก่อนมาก และมีโอกาสที่จะเติบโตมากขึ้นอีก ซึ่งโอกาสตรงนี้จะช่วยให้ธุรกิจผู้ประกอบการไทยสามารถเติบโตได้มากขึ้นเช่นกัน

             ในปี 2020 นี้เอง ธุรกิจ e-Commerce ถือเป็นธุรกิจดาวเด่นที่สุด ที่ทำรายได้เลยก็ว่าได้ครับ เพราะช่วยให้ผู้ประกอบการ SME เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้นด้วย 3 ช่องทางหลัก คือ e-Marketplace, Social Commerce และ e-Retail หรือ e-Brand นั่นเองครับ วันนี้ผมมีสรุปเทรนด์ที่มาแรงแน่ ๆ ในปี 2020 เพื่อให้ทุกคนเตรียมตัวเตรียมใจ รับมือกันให้ดีครับ

เปิด 6 แนวโน้มธุรกิจ e-Commerce ที่มาแรง มาแน่ ไปดูกันเลยครับ


1. แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นชัดที่สุดในปีนี้คือ การทำตลาด e-Commerce ไทยจะเข้มข้นขึ้นเข้มข้นกว่าเดิม

            ธุรกิจต่างชาติจะเข้ามาแข่งขันกับเรามากขึ้นโดยเฉพาะ “จีน” เมื่อมีอัตราการซื้อออนไลน์มากขึ้น สะดวกสบายขึ้น นักลงทุนหรือผู้ประกอบการต่างชาติก็จะเริ่มเข้ามาแข่งขันกับผู้ประกอบการชาวไทย ที่เห็นได้ชัด ๆ เลยก็น่าจะเป็น จีนครับ เพราะสินค้าเกือบ 80% นั้นส่วนใหญ่จะมาจากประเทศจีน โดยสินค้าของไทยเองมีน้อยกว่าเขามากครับ และยิ่งมีนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุน การค้าเสรี (Free Trade) ที่จะช่วยให้การขนส่งสินค้าจากต่างประเทศนั้นเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการไทยต้องเตรียมรับมือกับชาวต่างชาติที่จะเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นในตลาด e-Commerce ในปีนี้ครับ

2. ปรับกลยุทธ์เน้นการเข้าถึงลูกค้าโดยตรง (Direct to Customers) ด้วยตนเองมากขึ้น แทนที่ JSL

            บางคนอาจจะยังสงสัยนะครับว่า JSL คืออะไร JSL ย่อมากจาก JD Central, Shopee และ Lazada เป็น Online Marketplace ผู้ยิ่งใหญ่ 3 เจ้านั่นเองครับ เมื่อปีที่ผ่าน ๆ มา หลังจากที่เปิดให้ผู้ขายลงขายสินค้ากันอย่างง่ายดาย แถมโปรโชั่น ลด แลก แจก แถม กันแบบสุด ๆ จนทำให้ Marketplace ดังกล่าว และ เจ้าอื่น ๆ ในช่องทางออนไลน์ ติดตลาดผู้บริโภค (มีเปอร์เซ็นต์การซื้อขายผ่านทาง Social Media มากถึง 40%) ดังนั้นปีนี้มีแนวโน้มว่าพวกเขาจะไม่ใจดีอีกต่อไปแล้วล่ะครับ เพราะจะเริ่มคิดค่าบริการต่าง ๆ เพิ่มเติมมากขึ้น และช่องทางที่เคยลงขายได้ฟรี ก็จะเริ่มคิดเงิน ทำให้พ่อค้าแม่ค้าที่อยู่บนมาร์เก็ตเพลสเหล่านี้จะเริ่มมีต้นทุนเพิ่มมากขึ้นครับ 

            ดังนั้นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นนั้นแน่นอนว่า หลาย ๆ องค์กรคงจะหันมาพึ่งตัวเองมากขึ้น เพื่อสร้างให้ลูกค้าและผู้ขายได้เข้าถึงกันได้สะดวกขึ้นผ่านทางแพลตฟอร์มของตัวเอง หรือเรียกว่า Direct to Customers เพื่อเข้าถึงลูกค้าโดยตรงด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งตัวกลางอย่าง JSL หรือ สื่อออนไลน์อื่น ๆ เพราะอยากจะเซฟค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้ได้มากที่สุด ผู้ประกอบการรายใหญ่หลาย ๆ เจ้า จึงเริ่มหันมาทำ Direct to Customers ผ่านทางแพลตฟอร์มของตนเอง เช่น เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นเอง เพื่อทำความรู้ ความเข้าใจลูกค้าให้ได้มากที่สุดโดยตรง อีกทั้งตัวแบรนด์เองก็จะได้ Data ต่าง ๆ ของลูกค้าเช่น ผู้ใช้งานดูอะไร สนใจสิ่งไหน เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการขายต่อไป และยังเป็นกลยุทธ์ที่ช่วยสร้างประสบการณ์ความใกล้ชิดระหว่างแบรนด์และลูกค้า เพื่อสร้าง Customer Loyalty ให้กับธุรกิจของตัวเองได้ดีทีเดียวครับ 

3. แนวโน้มการใช้ AI ในการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการของผู้ประกอบการ

            ในปีที่ผ่านมายังมีผู้ประกอบการที่ใช้งบประมาณในการลงทุนกับ AI เพื่อพัฒนาการผลิตสินค้าและบริการไม่มากครับ แต่ในปี2020 แนวโน้มที่ AI จะเข้ามามีบทบาทกับวงการธุรกิจของไทยก็มีมากขึ้นในส่วนของการให้บริการครับ เพราะในปี 2018 การใช้งาน AI 69% อ้างอิงจาก ETDA ใช้ในเรื่องของการให้บริการ Chat Bot และ CRM แม้ว่าในอุตสาหกรรมการผลิตเชิงพาณิชย์ทั่วโลกการใช้งานยังอยู่ในขั้นต้น แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายและข้อผิดผลาดจะลดน้อยลงกว่าการจ้างแรงงานคน งานนี้ไม่แน่ว่าหากพัฒนาเจ้า AI ให้มีประสิทธิภาพเเละชำนาญด้านนี้มากขึ้นแล้ว แรงงานคนอาจจะได้รับผลกระทบก็ได้ครับ

4. แบรนด์ออฟไลน์หันเข้าสู่ออนไลน์มากขึ้นเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์

ปัจจุบันนี้แทบจะไม่มีธุรกิจที่ขายอยู่ช่องทางเดียวแล้ว เพราะการขายช่องทางออนไลน์นั้นเป็นการขายที่ไม่มีขีดจำกัด ไม่ต้องผ่านตัวกลาง และการที่แบรนด์ขายเองนั้น จะทำให้ได้กำไรที่มากขึ้น และยังได้ข้อมูลลูกค้าเพื่อมาทำการตลาดในอนาคตได้อีกด้วย ปัจจุบันนี้เห็นได้จากหลาย ๆ แบรนด์เลยครับที่ทำสินค้าแบบ Limited หรือ Exclusive ที่สามารถซื้อได้จากทางแบรนด์เองเท่านั้น ซึ่งเป็นการตัดพ่อค้าคนกลางออกไปได้โดยปริยาย แล้วการที่เรามีช่องทางการขายที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ออฟไลน์ หรือ ออนไลน์ ต่างก็ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างหลากหลาย ซึ่งเราสามารถผสมผสานสองช่องทางการขาย (Omni Channel) เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ไร้รอยต่อในการซื้อสินค้า (Seamless Experience) ยิ่งถ้าคุณขายออนไลน์ มีการบริการลูกค้าที่ดี จัดส่งสินค้าได้รวดเร็วทันความต้องการของลูกค้าเหมือนกับไปซื้อหน้าร้านแล้วนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำให้ลูกค้าหันกลับมาซื้อซ้ำอย่างแน่นอนครับ

5. การแข่งขันของธุรกิจโลจิสติกส์จะดุเดือดขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคต้องการการจัดส่งที่รวดเร็ว

           ในปี 2020 นี้ คาดว่าน่าจะเป็นสงครามของบริษัทส่งสินค้าหรือ (E-Logistic) ด้วยเช่นกันครับ ยิ่งถ้าร้านค้าหันมาขายสินค้าออนไลน์กันมากขึ้นแล้ว ธุรกิจการจัดส่งสินค้าก็จะโตตามด้วยเช่นกัน และไม่ใช่แค่ผู้ประกอบการในไทย แต่ยังมีบริษัทต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นรายใหญ่ ๆ ที่คุ้นตากัน หรือหน้าใหม่ที่พึ่งเข้ามา ที่ต่างพยายามลงทุนเรื่อง E-Logistics เพื่อเสริมความแข็งแรงด้านโครงสร้างพื้นฐานและเป็นอีกหนึ่งแต้มต่อในการทำธุรกิจ​ แต่ระบบ Logistics เดิม ๆ นั้น อย่างที่เข้าใจกันดีว่า เป็นเรื่องของการขนส่ง รวมถึงเรื่องการชำระเงิน ซึ่งมีขั้นตอนมากและใช้เวลาพอสมควร ดังนั้นหลาย ๆ องค์กรจึงหันมาลงทุนเรื่อง E-Logistics มากขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน นอกจากจะลดเวลา ลดค่าใช้จ่าย แล้วยังสามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวได้แบบ Real-Time ผ่านทางมือถือได้อีกด้วย

6. ธุรกิจอีคอมเมิร์ชขยายตัว บริการ Fulfillment “เก็บ แพ็ค ส่ง” เติบโต

           ผลจากการที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ชขยายตัวอย่างมาก ส่งผลให้ธุรกิจบริการ Fulfillment จะมาแรงมากเช่นกันในปีนี้ครับ เพราะการเพิ่มขึ้นของยอดออเดอร์ ทำให้ผู้ประกอบการต้องจัดการกับการเก็บหรือสต๊อกสินค้า ทั้งในเรื่องสถานที่และการดูแลสต๊อก การแพ็คที่ต้องใช้เวลาและมีดีเทลที่ต้องใส่ใจ และการส่งที่ต้องดูแลความต้องการของลูกค้าที่ต้องการได้ของเร็วที่สุด ซึ่งถ้าหากผู้ประกอบการทำสิ่งเหล่านี้ด้วยตนเองจะเสียเวลาไม่น้อยเลยครับ เพราะเหตุนี้ การใช้บริการ Outsource ที่สามารถช่วยดูแลเรื่องยุ่งยากเหล่านี้ได้ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ประกอบการ ซึ่งนี่จะเป็นโอกาสของผู้ให้บริการ Fulfillment ที่จะเข้ามาดูแลและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในบริหารจัดการ “เก็บ แพ็ค ส่ง” สินค้าให้อย่างครบวงจร เรียกได้ว่านี่จะเป็นปีแห่งการเติบโตของบริการ Fulfillment เลยก็ว่าได้ครับ

สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องทำเพื่อรับมือกับการเเข่งขันในธุรกิจ e-Commerce ที่จะสูงขึ้น

           เรียกได้ว่าเทรนด์ e-Commerce มาแรงอย่างมากครับในปีนี้ ทั้งในเรื่องของการเติบโตของธุรกิจและการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจที่ทำให้ผู้บริโภคสะดวกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการที่นำเทคโนโลยี AI มาใช้แล้วนั้น แรงงานคนก็ต้องลดลงอย่างแน่นอน ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องตื่นตัว และคอยปรับตัวอยู่เสมอ เพื่อที่จะให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้ในยุค Disruption นี้ครับ

           MyCloudFulfillment เองก็เป็นผู้ให้บริการ Fulfillment ทั้ง เก็บ แพ็ค ส่ง สินค้าเผื่อผู้ขายสินค้าออนไลน์ ที่กำลังเติบโตและต้องพัฒนาการบริการอยู่เสมอในยุคที่ธุรกิจ e-Commerce เติบโตแบบนี้ ผมหวังว่านี่จะเป็นโอากาสดีที่ปลุกให้ผู้ประกอบการทุกคนตื่นตัว และพร้อมที่จะพัฒนาสินค้าและบริการของตนเองให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป สำหรับธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ MyCloud พร้อมที่จะเป็นพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจของคุณ เพื่อเติบโตไปพร้อม ๆ กันอย่างยั่งยืนครับ :-)

    ขอใบเสนอราคา

    ฟอร์มการติดต่อสอบถามและขอใบเสนอราคา