สรุป EEC เขตส่งเสริมพิเศษ อี-คอมเมิร์ซ มีอะไรที่ SMEs ไทยต้องรู้อะไรบ้าง ?
สรุป EEC เขตส่งเสริมพิเศษ อี-คอมเมิร์ซ มีอะไรที่ SMEs ไทยต้องรู้อะไรบ้าง ??
เขตส่งเสริมพิเศษ อี-คอมเมิร์ซ SMEs ไทยต้องรู้อะไรบ้าง ??
หลังจากที่มีประกาศราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ เรื่องการปฏิบัติพิธีการศุลกากร ณ เขตปลอดอากร กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) ภายในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หลายคนอาจจะสงสัยและอยากรู้ว่าใครจะได้ประโยชน์บ้าง? วันนี้ MyCloudFulfillment รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วครับ!
การชำระค่าอากรสำหรับของที่นำมาใช้หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร
- กรณีใบขนสินค้าพาณิชย์เล็กทรอนิกส์เพื่อใช้หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร ออกเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว ระบบจะเปลี่ยนสถานะเป็น “ใบขนสินค้ายกเว้นอากร” โดยอัตโนมัติ
- กรณีใบขนสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้หรือจำหน่ายในราชอาณาจักร เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ออกเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว ผู้ประกอบกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตปลอดอากร ไม่ต้องชำระค่าอากร จนกว่าจะครบกำหนด 14 วัน จากเดิมที่ต้องชำระ “ทุกวัน” นับแต่วันที่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร ออกเลขที่ใบขนสินค้าดังกล่าว
ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และพิธิการศุลกากรสำหรับเขตปลอดอากร ภายในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เมื่อครบกำหนดแล้ว ให้ชำระเงินในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากรโดยวิธีตัดบัญชีผู้ประกอบการนั่นเองครับ
ประโยชน์ของ EEC มีอะไรบ้าง?
- ได้ส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอื่นๆ ของไทยไปขายยังประเทศจีน บนแพลตฟอร์มอาลีบาบา
- ความร่วมมือด้านการลงทุน Smart digital Hub ศูนย์จัดการสินค้าอัจฉริยะ หรือเป็นศูนย์กระจายสินค้าของภูมิภาคในกลุ่ม CLMV (Logistics Hub)
- ความร่วมมือด้านการพัฒนา SMEs และบุคลากรดิจิทัล ให้มีความรู้ความเข้าใจในตลาด E-commerce
- มีการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มในการส่งเสริมการท่องเที่ยว เกิดการท่องเที่ยวเมืองรองของนักท่องเที่ยวจีน
- เกิดการจ้างงานในพื้นที่ EEC กว่า 4แสน อัตรา
ภาษีที่ผู้ประกอบการ E-commerce เขต EEC จะได้รับ คือ
1. อากรขาเข้า สิทธิประโยชน์การอำนวยความสะดวก ให้ผู้ประกอบการ E-commerce เขตปลอดอากร EEC ชำระอากรทุก 14 วัน จากเดิมชำระทุกวัน
2. หากสินค้ามูลค่าไม่เกิน 1,500 ไม่เสียภาษีศุลกากร และภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat7% )
ผู้บริโภค Win ได้รับผลประโยชน์เช่นกัน ดังนี้
1. ได้ซื้อสินค้าที่ราคาถูกเหมือนซื้อจากจีน
2. ได้รับสินค้าเร็วขึ้น จากเดิมที่รอเป็นอาทิตย์
ภาษีที่ผู้ประกอบการไทยแบบนิติบุคคลต้องเสียมีอะไรบ้าง?
มาทำความรู้จัก 5 ภาษีเหล่านี้กันครับ!
1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล
คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากนิติบุคคล ที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายภาษีอากร ถ้าจดทะเบียนธุรกิจในรูปแบบของบริษัทฯ หรือห้างหุ้นส่วน ต้องเสียภาษีประเภทนี้ มี 2 แบบ คือ
- แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 ภาษีสำหรับรอบบัญชีที่ต้องยื่นภายใน 150 วัน หลังจากวันที่ปิดระบบบัญชี
- แบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ที่ต้องยื่นภายในสองเดือน หลังรอบบัญชีภาษีครึ่งปี
2.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
เป็นภาษีที่ถูกหักไว้ล่วงหน้า หมายความว่า เราสามารถขอคืนภาษีประเภทนี้ได้ โดยกฎหมายกำหนดให้คนที่จ่ายเงินให้กับกิจการของเรา หรือคู่ค้าของเราที่ซื้อของจากเรามีหน้าที่หักภาษีไว้เมื่อมีการจ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่เก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากคนทำธุรกิจ หรือให้บริการประเภทต่างๆ
โดยผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ ฯลฯ ซึ่งต้องมีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป ไม่ว่ากิจการนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ตาม
3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม
เป็นภาษีที่เก็บจากมูลค่าส่วนเพิ่มขึ้นจากคนทำธุรกิจ หรือให้บริการประเภทต่างๆ โดยผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ ฯลฯ ซึ่งต้องมีรายได้ต่อปี ตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป ไม่ว่ากิจการนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ตาม
4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ
เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากร ที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่าง เช่น กิจการธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำ หรือการขายอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจใดที่ไม่เข้าข่ายก็ข้ามไปได้
5.อากรแสตมป์
เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรอีกประเภทหนึ่ง จะเรียกเก็บเมื่อมีการทำตราสารระหว่างกัน 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอากรแสตมป์ โดยจะใช้การขีดฆ่าแสดงถึงการใช้แสตมป์ดังกล่าว
แน่นอนว่า EEC คือเรื่องใหม่ที่เรา SMEs ไทยต้องปรับตัวและรับมือ แต่...อะไรที่เป็นจุดแข็งของเรา และสามารถสู้กับสินค้าจีนที่จะทะลักเข้ามานี้ได้ โพสต์หน้าแอดมินจะลิสมาให้เลยครับ เชื่อว่า SMEs ไทยทำได้แน่นอน!
หากต้องการผู้ช่วยในการจัดการออเดอร์สินค้าแบบมืออาชีพ
MyCloudFulfillment ให้บริการคลังสินค้าออนไลน์แบบครบวงจร
สนใจศึกษาและลงทะเบียนได้ที่ www.mycloudfulfillment.com
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร: 092-472-7742, 02-138-9920
อีเมล: [email protected]
line: @mycloudgroup